วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Power Supply

Power Supply


Power supply มีด้วยกัน 4 ชนิด  

1.Unregulated  (หรือเรียกอีกอย่างว่า brute force) 
    Unregulated  power  supply  นั้นเป็นแบบธรรมดา ซึ่งประกอบไปด้วย transformer, rectifier และ low-pass filter โดยทั่วไป power supplies ชนิดนี้ จะจ่ายค่า voltage ไม่คงที่ และยังมีสัญญาณ AC มารบกวนในขณะที่จ่ายไฟ DC   ถ้าค่าอินพุท voltage ไม่คงที่ ก็จะทำให้ค่าเอาท์พุท voltage ที่จ่ายออกมาไม่คงที่ไปด้วย
 ข้อดี ของ unregulated supply  ก็คือ ราคาถูก ใช้งานง่าย  และมีประสิทธิภาพ

2.Linear regulated 
      Linear regulated supply ก็คือ unregulated power supply ตามด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ที่ทำงานในโหมด "active"  หรือ "linear" ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่า linear regulator โดยทั่วไป linear regulator ถูกออกแบบมาให้จ่ายค่า voltage ตามที่กำหนดสำหรับ input voltages ย่านกว้าง และมันจะลดค่า input voltage ที่เกินมาเพื่อให้สามารถจ่ายค่า output voltage สูงสุดให้แก่โหลด ผลจากการลดค่า input voltage ที่เกินมา  แสดงออกมาในรูปของความร้อน แต่ถ้า input voltage ลดต่ำลง จะทำให้วงจรทรานซิสเตอร์สูญเสียการควบคุม นั้นหมายถึงว่ามันไม่สามารถรักษาระดับ voltage มันทำได้เพียงแค่ลดค่า voltage ที่เกินมาเท่านั้น ไม่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการลดลงของ voltage ที่มาจากภาค brute force ของวงจร เพราะฉะนั้นท่านต้องรักษาระดับของ input voltage ให้สูงกว่า output ที่ต้องการอย่างน้อย 1 ถึง 3 volts ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของ regulator นั้นหมายถึงว่าพลังงานได้จากวงจร regulator จะมีค่าเท่ากับ อย่างน้อย 1 ถึง 3 volts คูณกับกระแสของโหลดทั้งหมด และปลดปล่อยความร้อนออกมามาก จากสาเหตุนี้ทำให้ regulated power supplies ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ และจากการที่ต้องระบายความร้อยที่เกิดขึ้นทำให้มันต้องใช้ตัวระบายความร้อนขนาดใหญ่ส่งผลให้มันมีขนาดใหญ่  หนัก และ ราคาแพง

3.Switching 
     Switching regulated power supply ("switcher") เกิดจากความพยายามรวมข้อดีของการออกแบบทั้ง brute force and linear regulated power supplies(เล็ก,มีประสิทธิภาพ,และถูก อีกทั้งยัง "สะอาด",voltage ที่จ่ายออกมาก็คงที่)การทำงาน ของ switching power supplies ใช้วิธีการปรับค่าของ AC power line voltage ที่เข้ามาให้เป็น DC แล้วเปลี่ยนมันให้เป็น square-wave AC ที่มีความถี่สูง  โดยผ่าน transistors ที่ทำงานเหมือนสวิทช์เปิด-ปิด แล้วปรับค่า AC voltage ขึ้น-ลง โดยใช้ lightweight transformer จากนั้นเปลี่ยนค่า AC output ให้เป็น DC แล้วกรองสัญญาณก่อนจ่ายค่าออกไป การปรับค่า voltage ทำได้โดยการปรับที่ หม้อแปลงด้าน primary เพื่อเปลี่ยน duty-cycle ของ DC-to-AC inversion เหตุผลที่
   switching power supplies มีน้ำหนักเบากว่าแบบอื่นก็เนื่องมาจากแกนของหม้อแปลงที่มีขนาดเล็กกว่า
   ข้อดี ของ Switching power supplies ที่ทำให้มันเหนือกว่า 2 แบบแรกคือ power supply แบบนี้สามารถใช้ได้กับระบบไฟฟ้าทุกแบบที่มีในโลกนี้ ด้วยเหตุนี้มันจึงถูกเรียกว่า "universal" power supplies.

    ข้อเสีย ของ switching power supplies คือมันค่อนข้างซับซ้อนมากกว่า และ ดูจากการทำงานของมันจะเห็นว่ามันจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวน AC ที่มีความถี่สูงกับสายไฟมาก Switching power supplies ส่วนใหญ่เวลาจ่ายค่าออกมาก็มี voltage ไม่คงที่เช่นกัน Switching power supplies ที่มีราคาถูกนั้นก็มีสัญญาณรบกวนและค่าไม่นิ่ง แย่พอๆ กับ unregulated power supply  ถ้าพูดถึงพวก low-end switching power supplies แล้วก็ไม่ถึงกับไม่มีค่า เพราะมันก็ยังสามารถให้ output voltage ที่คงที่ และมีคุณสมบัติของ "universal" input
สำหรับ Swithching power supplies ที่มีราคาแพงนั้น ไฟที่จ่ายออกมาจะนิ่งและ มีสัญญาณรบกวนน้อยพอๆกับ แบบ linear ราคาก็แพงใกล้เคียงกับ linear supplies เหตุผลในการเลือกใช้ switching power supplies ที่มีราคาแพง แทนที่จะใช้ linear power supplies ที่ดีๆ ก็คือในกรณีที่ต้องการใช้กับ universal power system หรือต้องการประสิทธิภาพสูง น้ำหนักเบา  และ ขนาดที่เล็กคือ เหตุผลที่ switching power supplies ถูกใช้อย่างกว้างขวางในพวกวงจรคอมพิวเตอร์ที่เป็นดิจิตอล

4.Ripple regulated
    เป็นการผสมผสานกันระหว่าง "brute force" กับ "switching" โดยรวมเอาข้อดีของทั้งสองแบบไว้ในตัวมันเอง Ripple-regulated power supply เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกแบบวงจร linear regulated: "brute force" power supply (transformer, rectifier, and filter) ประกอบไปด้วย ส่วนหน้าของวงจร แต่ทรานซิสเตอร์ก็ทำงานในโหมด on/off (saturation/cutoff) โดยทำหน้าที่ส่งผ่าน DC power ไปยัง คาปาซิสเตอร์ขนาดใหญ่ เพื่อรักษาระดับ output voltage ให้อยู่ในช่วงสูง และต่ำของค่าที่กำหนด เช่นเดียวกับใน switching power supply เมื่ออยู่ในโหมด "active" หรือ "linear" ทรานซิสเตอร์ ที่อยู่ใน ripple regulator นั้นไม่ยอมให้กระแสผ่านไปได้ หมายความว่าจะมีพลังงานเพียงเล็กน้อยที่จะสูญเสียออกมาในรูปของความร้อน อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของวงจร Regulation คือ การกระเพื่อมของ voltage ที่จ่ายออกไปซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น DC voltage ผันผวนระหว่างค่า voltage ที่ตั้งไว้สองค่า รวมถึงการกระเพื่อมของ voltage ที่แปรผันไปตามความถี่ของ กระแสของโหลด ซึ่งจะส่งผลให้การกรองสัญญาณ DC power เป็นไปได้ยาก
วงจร Ripple regulator เมื่อเทียบกับวงจร switcher แล้วจะดูไม่ซับซ้อนเท่า และไม่มีความจำเป็นจะต้องรองรับ voltage สูงๆจาก power line เหมือนกับที่ ทรานซิสเตอร์ของ switcher ต้องรองรับ นี้ทำให้มันปลอดภัยในการใช้งาน

การ์ดแสดงผล (Display หรือ VGA Card)

การ์ดแสดงผล (Display หรือ VGA Card) มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

    การ์ดแสดงผลอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการ์ดวีดีโอหรือการ์ดจอ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำผล การประมวลจากซีพียูไปแสดงบนจอภาพ  การ์ดแสดงผลมีอยู่หลายแบบ  ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไป ใช้งาน  ถ้าหากเป็นการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น พิมพ์งานในสำนักงาน ใช้อินเตอร์เน็ต อาจใช้การ์ดแบบ 2 มิติ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นการ เล่นเกมใช้โปรแกรมประเภทกราฟิก 3 มิติ ก็ควรเลือกการ์ดจอ ที่จะ ช่วยแสดงผลแบบสามมิติหรือ 3D การ์ด
    การ์ดจอบางแบบอาจถูกออกแบบติดไว้กับเมนบอร์ด โดยเฉพาะเมนบอร์ดแบบ ATX ซึ่งมี อยู่หลายยี่ห้อที่ได้รวมการ์ดจอเข้ากับเมนบอร์ด อาจสะดวกและ ประหยัด แต่หากพูดถึงประสิทธิภาพ โดยรวมของเครื่องแล้ว อาจจะไม่ดีเท่ากับการ์ดที่แยกต่างหากจากเมนบอร์ด ซึ่งอาจแบ่งช่วงของการ ใช้การ์ดจอได้ดังนี้

1.การ์ดจอแบบ ISA และ VL 
      เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า 386 และ 486 รุ่นแรกๆ การ์ดรุ่นนี้ สามารถ แสดงสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น การดูภาพ จึงอาจจะไม่สมจริงเท่าไรนัก เพราะขาดสีบางสีไป



2.การ์ดจอแบบ PCI 
     เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ 486 รุ่นปลายๆ เช่น 486DX4-100 และเครื่องระดับ เพนเทียมหรือคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 MHz ถึง ประมาณ 300 MHz จะมีความเร็ว ในการแสดงผลสูงกว่าการ์ดจอแบบ ISA


3.การ์ดจอแบบ AGP 
     เป็นการ์ดจอที่แสดงผลได้เร็วที่สุด เริ่มใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น AMD K6-II/III, K7, Duron, Thunderbird, Athlon XP, Cyrix MII, MIII, VIA Cyrix III, Pentium II, III, IV และ Celeron เป็นการ์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันการ์ดจอบางรุ่นจะมีช่อง TV Out สามารถต่อสายไปยังทีวีได้ กรณีที่ต้องการดูหนังหรือร้อง คาราโอเคะ ก็ต่อเข้าจอ 29" ร้องกันให้สะใจไปเลย

4.การ์ดจอแบบ 3 มิติ 
    การ์ดจอสำหรับงานกราฟิค เล่นเกมสามมิติ ตัดต่อวีดีโอ ราคาแพงกว่าการ์ด จอสามประเภทแรก และผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคอเกมเมอร์ทั้งหลาย เพราะคนใช้งาน ทั่วๆ ไป อย่างเราๆ การ์ดธรรมดา ก็พอแล้ว มันแพงครับ บางตัว 20,000 กว่าบาท เกือบซื้อเครื่องดีๆ ได้อีกตัว การ์ดจอต่างๆ เหล่านี้จะมี ตัวประมวลผล (GPU) ช่วยประมวลผลหรือคำนวณเกี่ยวกับการสร้างภาพให้ปรากฏบนจอ ซึ่งจะทำให้ การแสดงภาพทำได้ดีมากกว่าการ์ดจอทั่วๆไป จึงต้องมีพัดลมช่วยระบายความร้อน ด้วยการ์ดจอแบบนี้ อาจมีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อแบบ PCI หรือ AGP แต่ส่วนใหญ่ในตอนนี้จะเป็นแบบ AGP มากกว่า



    ตัวอย่างการ์ดจอ 3 มิติ Asus V7700 Ultra, Winfast GF2 Ultra, Hercules 3D Prophet II Ultra, Ati Radeon All-In-Wonder เป็นต้น

    สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับการ์ดจอก็คือ การ์ดจอนั้นๆ เป็นแบบ ISA, PCi หรือ AGP และ เป็นการ์ดแบบ 2 มิติหรือ 3 มิติ ซึ่งต้องมีพัดลมระบายความร้อนด้วย

การเลือกซื้อการ์ดจอ
    การเลือกซื้อการ์ดจอให้ดูที่เมนบอร์ดก่อนว่ารองรับการ์ดจอแบบใด และก็ดูที่จุดประสงค์ในการ นำการ์ดจอมาใช้งานด้วย ถ้าใช้ทำงานทั่วๆ ไป ก็ไม่มีปัญหา ใช้การ์ด จอทั่วๆ ไปได้อยู่แล้ว แต่ถ้าเล่นเกม ต้องการ์ดจอแบบ 3 D ส่วนท่านใดที่เป็นครู อาจารย์ วิทยากร อาจเลือกแบบที่มี TV Out เพื่อต่อ ออกทีวีเวลาบรรยาย

Mainboard

เมนบอร์ด ประเภทและการใช้งาน
Mainboard  เมนบอร์ด หรืออีกชื่อที่หลายๆคนเรียกและข้างกล่องว่ามาเธอร์บอร์ด (Motherboard) เมนบอร์ดมีความสำคัญควบคู่กับซีพียู เมนบอร์ดนั้นมีทำหน้าที่ทำงานในการควบคุมและดูแลการทำงานต่างๆของอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆในคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ การ์ดจอ และแรม ส่วนมากเมนบอร์ดในปัจจุบันจะเป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็พัฒนาไปมากเช่นกัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิ่มประสิทธิภาพของเมนบอร์ดให้ดียิ่งขึ้น และมีสีสันที่ดูดี สวยงาม โดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองนั้นจะเลือกสีสันตามที่ตัวเองชอบ

สำหรับเมนบอร์ดสามารถที่จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทั้งภายนอกและภายในจึงต้องมีช่องสำหรับการเชื่อมต่อต่างๆเข้าด้วยกัน  และสามารถจะรองรับการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันในบางรุ่นหรือว่ามีส่วนประกอบที่แตกต่างกันความสามารถที่จะทำงานก็ต่างกันด้วย  
เรามารู้จักส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญและควรรู้ที่มีในเมนบอร์ดกัน
1.ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นและตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราใส่ ฉะนั้นควรเลือกให้ตรงกันด้วย
2.พอร์ต ที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของทุกเครื่องจะมีพอร์ตในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ภายนอก ซึ่งแต่ละรูพอร์ตก็จะมีรูเสียบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น พอร์ตสำหรับเสียบ USB 3.0 และ 2.0 ที่มีความเร็วสูง พอร์ตสำหรับเสียบ HDMI, พอร์ตแลนเพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และพอร์ตเสียงที่สามารถเสียบกับลำโพง ไมค์ และเครื่องบันทึกเสียงอื่นได้ มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง
1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก 
2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล 400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก 
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน                                                          
4.USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6.ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง ทั้งไมค์
3.สล็อต AGP ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล มีทั้ง AGP และ PCI Express เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซต ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด โดยจะมีซิปเซตอยู่ส่วนด้วยกันคือ
–North Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
–South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อSATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDE ใช้ในการเชื่อต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า จากพาวเวอร์ซับพราย โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ แถว
10.ซ็อกเก็ตแรม ช่องที่มีไว้ใส่แรม โดยจะมีทั้งในแบบ Dual Channel และ Triple Channel

11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุมใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์ และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USB ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น

รูปแบบของเมนบอร์ด
เมนบอร์ดในปัจจุบันมีรูปแบบที่มีหลายขนาด เพื่อตอบสนองในการใช้งานปัจจุบัน เราสามารถเลือกที่จะใช้ทั้งแบบเล็ก หรือแบบใหญ่ตามที่เราต้องการ

  1.ATX ( Advanced Technology Extended ) เป็นเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีขนาดที่ 12 x 9.6 นิ้ว เป็นเมนบอร์ดตัวใหญ่ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีต เพราะว่าขนาดของมันที่ใหญ่จึงสามารถเพิ่มใส่อุปกรณ์ต่างๆได้มากขึ้นกว่าชนิดอื่นๆ และสามารถระบายความร้อนได้อย่างดีเพราะมีการออกแบบให้อุปกรณ์ภายในเมนบอร์ดนั้นสามารถที่จะระบายอากาศได้อย่างลงตัว และยังสามารถที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นแรมที่สามารถใส่ได้มากกว่า ช่อง หรือการ์ดจอที่สามารถใส่ได้มากกว่า ตัวนั้นเอง
  2.Micro ATX จะมีขนาดที่เล็กลงมาจาก ATX เนื่องจากว่ามีขนาดที่เล็กลงจึงสามารถอุปกรณ์อื่นๆได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ขนาดเล็กลงนั้นก็สามารถลดการใช้พลังงานด้วยเช่นกัน จะมีขนาดประมาณ 9.6 และสามารถใช้งานกับเคสคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงมาหน่อยได้ เป็นการประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน

  3.Mini-ITX (Information Technology Extended) เป็นเมนบอร์ดที่มีรูปแบบเล็กกว่าสองแบบแรก ด้วยความที่ต้องการประหยัดเนื้อที่ให้เล็กลงอีก การใช้พลังงานก็ต่ำลงด้วยเช่นกันเนื่องจากมีอุปกรณ์ที่มาพร้อมกันอย่างสัญญาณ WIFI และมีช่องต่อต่างๆที่จำเป็นเท่านั้น และมีข้อจำกัดในการเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปส่วนมากหลายอย่างนั้นจะมาในตัวแล้วยกเว้นแค่ แรม ซีพียู และฮาร์ดดิสก์เท่านั้น หากต้องการเมนบอร์ดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ของคุณ จำเป็นต้องใช้รุ่น Micro ATX ขึ้นไป   

แหล่งที่มา https://phongsakorn-technology-computer.blogspot.com/

Harddisk (ฮาร์ดดิส)


ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร


ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดสื่อหลักที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว




ความหมายของ Hard disk




ความหมายของฮาร์ดดิสก์

   ฮาร์ดดิสก์คืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือเป็นโปรแกรมที่สำคัญมากที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวฮาร์ดดิสก์จากภายนอกได้ ถ้าต้องการดูจำเป็นต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องออกจึงจะมองเห็น และเนื่องจากฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆดังนั้นความจุของตัวฮาร์ดดิสก์จึงเป็นส่วนสำคัญมากในการเลือกนำมาใช้งาน และโปรแกรมในสมัยปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็น
 windows หรือโปรแกรมอื่นๆมักมีขนาดใหญ่จึงต้องเลือกตัวฮาร์ดดิสก์ที่มีหน่วยเป็น กิกะไบต์ (GB : Gigabyte)

ลักษณ์ของการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์มีศัพท์เฉพาะที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า อินเตอร์เฟส (Interfece) สามารถแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ประเภท

1. IDE และ E-IDE
การเชื่อมต่อแบบ IDE (integrated Drive Electronics) เป็นการเชื่อมต่อแบบเก่า ที่มีข้อจำกัดรองรับการทำงานของฮาร์ดดิสก์ได้เพียงแค่528 เมกกะไบต์ ส่วน E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) คือพัฒนาการของ IDE นั่นเอง สามารถรองรับการเชื่อมต่อในระดับ กิกะไบต์ และปัจจุบันการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ มักนิยมใช้แบบ E-IDE

2. SCSI
การเชื่อมต่อแบบ SCSI (Small Computer System Interface) เป็นการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูง นิยมใช้กับระบบเครือข่ายการและการเชื่อมต่อแบบ SCSI นี้จะต้องมีการ์ด SCSI ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ด้วย

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการมีฮาร์ดดิสก์ติดตั้งในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์คือถ้าหากว่าเราไม่มีฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วล่ะก็ เวลาเปิดเครื่องเราต้องมานั่งเขียนโปรแกรมเป็นพันๆหมื่นๆบรรทัดเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน พอเราปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่ก็ต้องเขียนโปรแกรมนั้นอีกเพราะไม่มีตัวเก็บข้อมูลความจำนั้น ฮาร์ดดิสก์ก็คือตัวเก็บข้อมูลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และสะดวกในการใช้งานอีกด้วย





ประเภทของฮาร์ดดิสก์


ฮาร์ดดิสก์ได้มีพัฒนาการในการเชื่อมต่อหรืออินเตอร์เฟสมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มี 3 รูปแบบคือ แบบ IDE ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นแบบ EIDE ( Enhanced  IDE) สำหรับเครื่องทั่วไป แบบ SCSI นิยมใช้ Server  และWorkstation  และ แบบ Serial ATA เป็นมาตรฐานใหม่ของฮาร์ดดิสก์  สำหรับเครื่อง PC ทั่วไปมีความเร็วสูงและมีการเชื่อมต่อที่ง่ายกว่าเดิม

ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (EIDE)

ฮาร์ดดิสก์ที่เรียกว่าแบบ IDE ปัจจุบันเป็นแบบ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronic) ทั้งสิ้น โดยพัฒนาต่อจากแบบ IDE เดิม ซึ่งมีข้อจำกัดไม่สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุไม่เกิน 528 MB ได้
ฮาร์ดดิสก์ในมาตรฐานนี้มีหลายความเร็วได้แก่ Ultra ATA (Ultra DMA)/33,/66,/100,/133ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล33,66,100,133, MB/s ตามลำดับฮาร์ดดิสก์แบบ ATA/33 จะเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดด้วยสายแพแบบ 40 เส้นส่วนฮาร์ดดิสก์ ATA/66/100/133 จะเชื่อมต่อด้วยสายแพแบบ80 เส้นโดยปกติบนเมนบอร์ดจะมีช่องต่อ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 และ IDE2ซึ่งแต่ละช่องต่อจะติดตั้งฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ลูกซึ่งแต่ละลูกจะต้องกำหนดลำดับโดยจัมเปอร์เป็น “Master”และ“Slave” ให้ถูกต้องจึงจะใช้งานฮาร์ดดิสก์นั้นได้

ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI
       
ย่อมาจาก Small Computer Interface เป็นฮาร์ดดิสก์ซึ่งมีความเร็วสูงสามารถรับส่งข้อมูลได้เกินกว่า 160 MB/s จะต้องใช้ร่วมกับตัวควบคุมที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสริมโดยในช่วงแรกใช้สายแพเชื่อมต่อกับการ์ดแบบ 50 เส้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนามาเป็นมาตรฐาน SCSI 2  และ 3 ได้เปลี่ยนมาใช้สายแพสำหรับเชื่อมต่อซึ่งเป็นแบบ 68 เส้น
การ์ดเสริม (SCSI) นอกจากจะใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ได้แล้ว ยังสามารถใช้พ่วงต่อกับอุปกรณ์ SCSI อื่นๆได้อีกรวม 7-15 ตัว แต่เนื่องจากมีราคาแพงและต้องใช้ร่วมกับการ์ดควบคุม (SCSI Card) จึงนิยมใช้งานเฉพาะกับเครื่อง Server สำหรับควบคุมเครือข่าย
ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA
        


ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA เป็นอินเตอร์เฟสรูปแบบใหม่ที่ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบอนุกรม (IDE ใช้การรับส่งข้อมูลในแบบขนาน) จึงทำให้สามารถเพิ่มความเร็วได้มากกว่าแบบ IDE โดย Serial ATA 1.0 สามารถส่งข้อมูลได้ความเร็วสูงถึง 150MB/s และจะสูงถึง 300 และ 600 MB/s ใน SATA เวอร์ชั่น 2 และ 3 ต่อไป



ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ
         
                                                        
                         
                        Harddisk IDE (PATA)





                                                                                        
               Harddisk  SATA
    
  1. IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการใช้เทคโนโลยีแบบเก่าคือจะมีขั้วต่อกับสายแพที่สามารถส่งผ่านข้อมูลได้แค่ 8.3 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น
  2. SATA เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลได้มากถึง 150 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
  3. E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่พัฒนามาจาก IDE มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้ประมาณ 133 เม็กกะไบต์ต่อวินาที
  4. SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลราวๆ 320 เม็กกะไบต์ต่อวินาทีและมีความเร็วรอบในการหมุนจานประมาณ 1 หมื่นรอบต่อนาที นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ภายในองค์กร
ฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการทำงานของระบบทั้งระบบ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องดูแล และถนอมการใช้งานของฮาร์ดดิสก์เอาไว้ให้ดี ทั้งนี้เพราะเมื่อฮาร์ดดิสก์เกิดพังหรือเสียหายขึ้นมา ข้อมูลของเราก็จะพลอยสูญหายไปด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง

แหล่งที่มา http://sukanyaple.blogspot.com/

RAM

ประเภทของแรม (RAM)










   โดยทั่วไปสามารถแบ่ง RAM ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) และ Dynamic RAM(DRAM) โดยมีรายระ เอียดดังนี้



 1. Static RAM (SRAM)











ทำจากวงจรที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ” กับ “ไม่มีไฟ” ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่


นิยมไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัว CPU เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาด ความจุสูงๆได้ เนื่องจากราคาแพงและกินกระแสไฟมากจนมักทำให้เกิดความร้อนสูง อีกทั้งวงจรก็ยังมีขนาดใหญ่ด้วย


 
2. Dynamic RAM (DRAM)















ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” กับ “ไม่มีประจุ” ซึ่งวิธีนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า SRAM มาก แต่โดยธรรมชาติแล้ว ประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปได้เรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ DRAM สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟเลี้ยงวงจรอยู่ จึงต้องมีวงจรอีกส่วน หนึ่งคอยทำหน้าที่ “เติมประจุ” ไฟฟ้าให้เป็นระยะๆ ซึ่งเรียกกระบวนการเติมประจุไฟฟ้านี้ว่าการ รีเฟรช (Refresh)
หน่วยความจำ ประเภท DRAM นี้ นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปอที (Integrated Circuit) บนแผงโมดูลของ หน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 และ RDRAM เป็นต้น โดยสามารถออกแบบให้มีขนาดความ จุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง


ชนิดของ Dynamic RAM (DRAM)
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วย ความจำหลัก ของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้

2.1 SDRAM (Synchronous Dynamic RAM)


SDRAM คือหน่วยความจำแรมที่พัฒนามาจาก DRAM เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบัสความเร็วสูงได้ โดยบริษัท Samsung เป็นผู้ พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1993 ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบบัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของ CPU กับหน่วยความจำใช้ สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กันจึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยี CPU ต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้น มา
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC66 (66 MHz), PC100 (100 MHz), PC133 (133 MHz), PC150 (150 MHz) และ PC200 (200 MHz) แต่ว่าเมื่อเทคโนลียีแรมพัฒนาขึ้นอีก SDRAM ก็มีผู้ใช้น้อยลง จนในปัจจุบัน SDRAM ถือว่าเป็น เทคโนโลยีที่เก่าไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น

2.2 DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)
DDR SDRAM คือ หน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว ที่ได้รับการพัฒนาและยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SDRAM ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกับ SDRAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200 MHz ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูล เพิ่มขึ้น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับ SDRAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกา เพียงด้านเดียว
แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SDRAM ที่มีอยู่ 2 ที่ ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลด์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง


การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่า อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความ กว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณ นาฬิกา)เท่ากับอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง
ความเร็วบัสในปัจจุบันมีใหเเลือกใช้ตั่งแต่ PC2100 (DDR-266), PC2700(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533) ไปจนถึง PC5600 (DDR-700)

2.3 DDR-II SDRAM
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Gril Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP อีกทั่ง ยังสามารถออกแบบให้ตัวชิปมีขนาดเล็กแะบางลงได้ ชิปดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมี จำนวนขาทั่งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟเพียง1.8โวลต์ รองรับความจุได้สูงสุดถึง 4 GB ความเร็วบัสในบัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 200 MHz (DDR2- 400) ไปจนถึง 450 MHz (DDR2-900)
รุ่นของ DDR-II นอกจากจำแนกออกตามความเร็วของบัสที่ใช้งาน เช่น DDR2-667 (667 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 333 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ด้วย เช่น PC2-5400 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์) x 333 MHz ( ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ระรอบของสัญญาณนาฬิกา๗ เท่าอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 5,400 MB/s โดยประมั่นเอง นอกจากนี้ยังมี รุ่นอื่นๆอีกเช่น PC2-4300 (DDR-533),PC2-6400(DDR2-800) และ PC2-7200 (DDR2-900) เป็นต้น


สำหรับ DRAM ชนิดนี้ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่นานจะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR SDRAM ในที่ สุด

2.4 RDAM (RAMBUS DRAN)


ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Rambus lnc โดยนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับชิปเซ็ต i850 และซีพียู Pemtium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยชิปเซ็ตและเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Rambus Inline Memory Module) ที่มีร่อง บากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายในท้องตลาด สามารถ แบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
RDRAM (16บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนลขนาด 16 บิต (2ไบต์) มีจำนวลขาทั้งสิ้น 184 ขา การจำแนกรุ่นโดย มากจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น PC-800 (800 MHz),PC-1066 (1,066 MHZ) และ PC-1200 (1,200 MHz) เป็นต้น
RDRAM(32บิต) เป็น RDRAM แบบ Dual Channel ที่มีความกว้างบัส 2 แชแนลขนาด 32 บิต (4ไบต์) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 242 ขา การจำแนกรุ่นโดยมากจะจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่ได้รับ เช่น RIMM 3200(PC-800),RIMM 4200(PC-1066),RIMM 4800(PC-1200) และ RIMM 6400 (PC-1600) เป็นต้น
นอกจากนี้ในอนาคตยังอาจพัฒนาให้มีความกว้างบัสเพิ่มมากขึ้นถึง 4 แชนแนลขนาด 64 บิต(8 ไบต์) ที่ทำงานด้วย ความเร็วบัสสูงถึง 1,333 และ 1,600 MHz effective ออกมาด้วย โดยจะให้แบนด์วิดธ์มากถึง 10.6 และ 12.8 GB/s ตามลำดับ

แหล่งที่มา  http://anurak-technology.blogspot.com/